การตรวจวิเคราะห์ทางเคมี

การวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณและองค์ประกอบทางเคมี จะแบ่งการทดสอบได้หลายประเภทเช่น สารออกฤทธิ์ วิตามิน แร่ธาตุ โลหะต่างๆ กรดไขมัน สารสกัดจากธรรมชาติและสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์หาสิ่งต้องห้ามที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรวจสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ซึ่งทาง Zen innovation มีความชำนาญและได้รับการยอมรับจากสถาบันต่างๆ ชั้นนำของประเทศ ในการตรวจ โดยมีเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

เครื่อง HPLC-MS

เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะเป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์หาชนิดของสารตัวอย่างในปริมาณตํ่าๆ ได้เป็นอย่างดี (High Sensitivity) และมีความจําเพาะสูง (High Selectivity) เหมาะกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพของสารตัวอย่าง โดยที่สารตัวอย่างเป็นได้ทั้งของแข็งและของเหลว สารที่นำมาวิเคราะห์จะต้องเตรียมเป็นสารละลายก่อน เครื่อง HPLC-MS มี 2 ส่วนที่สำคัญคือเครื่องลิควิดโครมาโทรกราฟี (Liquid Chromatograph)ใช้ในการการแยกสารผสม (Separation) โดยอาศัยการทำปฏิกิริยา (Interaction) ระหว่างสารที่อยู่ภายในคอลัมน์ (Stationary phase) ในเครี่องกับสารผสม และเครื่องแมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (MassSpectrometer) เป็นการวิเคราะห์สารโดยการวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลของสาร ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในยา อาหารและเครื่องสำอาง สารต้องห้าม ยาฆ่าแมลง สารพิษเช่น aflatoxin วิเคราะห์สารที่เป็นสูตรผสมของอาหาร เช่น ปริมาณน้ำมัน และไขมัน, ปริมาณของน้ำตาล, ปริมาณของโปรตีน, ปริมาณวิตามิน วิเคราะห์สารที่อยู่ในกลุ่มกรดอินทรีย์ในอาหาร หรือเครื่องดื่ม เช่น Phosphosid acid, Formic acid, Aceticacid เป็นต้น วิเคราะห์ปริมาณสารแต่งเติมในอาหาร (Food Additive) เพื่อตรวจสอบคุณภาพ เช่น Benzoic acid, Sorbic acid, dehydroacetic acid เป็นต้น

เครื่อง Inductively Coupled Plasma- Mass Spectroscopy

เป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยกระบวนการ การคายพลังงานของอะตอม (Atomic emission) กระบวนการของการวิเคราะห์ด้วย ICP-MS เป็นการใช้พลังงานจากพลาสมาในการยิงอิเล็กตรอนให้หลุดจากวงแหวนชั้นนอกของอะตอม ทำให้เกิดไอออนประจุบวกของสารตัวอย่าง ไอออนนี้จะถูกแยกและวัดด้วย เครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นของตัวอย่าง เป็นเครื่องวิเคราะห์ปริมาณธาตุและโลหะปริมาณน้อยมาก (ระดับ ppb และ ppt) สามารถวิเคราะห์หลายธาตุได้ในเวลาเดียวกัน อาศัยหลักการเผาตัวอย่างที่ฉีดเป็นละอองฝอยในเปลวอาร์กอนพลาสมาเพื่อให้แตกตัวเป็นไอออนที่มีประจุ +1 จากนั้นส่งไปทำการแยกและตรวจวัดมวลสารตามค่ามวล ต่อประจุ (M/Z) ด้วย Mass Spectrometer ชนิด Quadrupole ใช้ในการวิเคราะห์ ส่วนผสมของแร่ธาตุในอาหาร วิเคราะห์โลหะหนักที่เป็นพิษ วิเคราะห์ปริมาณสาร ที่เติมแต่งในอาหาร ที่ทำให้เกิดสี ICP-MS สามารถวิเคราะห์ได้ถึง ppt (หนึ่งส่วนในล้านล้านส่วน) เครื่อง ICP-MS มีการนำไปใช้งานที่หลากหลาย เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร ธรณีวิทยา ชีวภาพ การแพทย์ อุตสาหกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ สารเคมีที่มีความบริสุทธิ์สูง ส่วนผสมของแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ในอาหาร ซึ่งอาจมีปริมาณความเข้มข้นสูง รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นพิษที่มีปริมาณต่ำๆ ในเวลาเดียวกัน

Gas chromatography-mass spectroscopy

เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการวิเคราะห์หาสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆที่ระเหยได้และไม่สลายตัวเมื่อโดนความร้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ GC-MS ประกอบไปด้วย เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี (Gas Chromatograph) ใช้ในการการแยกสารผสม (Separation) โดยอาศัยการทำปฏิกิริยา (Interaction) ระหว่างสารที่อยู่ภายในคอลัมน์ (Stationary phase) ในเครี่องกับสารผสม และเครื่องแมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (Mass Spectrometer) ซึ่งเป็นส่วนตรวจวัดโดยจะให้รูปแบบการแตกตัวของแต่ละโมเลกุล มีลักษณะเฉพาะ นำไปสู่การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารได้ เมื่อนำเทคนิค ทั้งสองมารวมกันจะสามารถนำมาวิเคราะห์สารผสม ทั้งทางปริมาณวิเคราะห์และ คุณภาพวิเคราะห์. GC-MS เป็นเทคนิคที่นำไปประยุกต์ ใช้ในด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงในด้านกฎหมาย วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ในยา อาหารและเครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง เช่น สามารถวิเคราะห์ปริมาณ และยืนยันชนิดของกรดไขมัน ตรวจสอบชนิดของกรดไขมัน DHA หรือ EPA ในน้ำมันปลา วิเคราะห์สารให้กลิ่นในอาหารหรือเครื่องดื่ม หาชนิด และปริมาณ ของไตรกลีเซอรไรด์ในกรดไขมัน วิเคราะห์สารเติมแต่งในอาหารเช่น สารกันหืน , สารกันเชื้อรา (O-phenylphenol , diphenyl , Thiabendaz ole) สารให้ความหวาน

UV-VIS spectrophotometer

เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์หาปริมาณสาร ที่สามารถดูดกลืนแสงช่วงยูวี-วิสิเบิล (190-1100 nm) จัดเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นของ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี โดยมีทั้งเครื่องแบบลำแสงเดี่ยว (Single Beam) ซึ่งมีความถูกต้องสูงและใช้งานง่าย ตลอดจนถึง เครื่องแบบลำแสงคู่ (Double Beam) ที่มีประสิทธิภาพสูงควบคุมการทำงานด้วย คอมพิวเตอร์สำหรับงานวิเคราะห์วิจัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์ สารประกอบเชิงซ้อนและสารอนินทรีย์ที่สามารถดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นเหล่านี้ได้ เช่น กลุ่มสารประกอบอะโรมาติก (Aromatic Compounds) อาทิ Polynuclear aromatics hydrocarbon (PAHs) , สีย้อม เป็นต้น โลหะบางชนิด อาทิ Fe3+ , Cr3+, Cu2+, NO32- , PO42 เป็นต้น สามารถประยุกต์ใช้ในงานตรวจวัดแร่ธาตุในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเครื่อง AA และ ICP เช่น ปริมาณธาตุฟลูออไรด์ หรือปริมาณคลอรีน, คลอไรด์ ในผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น

การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา

การตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา คือการตรวจสอบหรือทดสอบหาปริมาณเชื้อ หรือชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ ที่สงสัยว่ามีการปนเปื้อนในตัวอย่างที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งอาจเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือไม่เกิดโรคก็ได้ แต่ก็เป็นข้อชี้บ่งถึงคุณภาพสินค้านั้นๆ ว่าได้รับการดูแล ขั้นตอนการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสมเพียงใดได้

  1. "ทำไมต้องตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยา"

    การตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยา ก็เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ หรือบริโภคได้อย่างปลอดภัย ตามอายุของสินค้า เมื่อเก็บรักษาตามคำแนะนำที่ถูกต้องของสินค้านั้นๆ และเป็นการยืนยันถึงคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และขั้นตอนการผลิตที่ดีของผลิตภัณฑ์นั้นๆ อีกด้วย รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบส่วนประกอบในสินค้าและผลิตภัณฑ์สุดท้ายนั้น มีจำนวนจุลินทรีย์อยู่ในช่วงที่กำหนด (microbiological criteria)

  2. “เพราะอะไรถึงต้องตรวจทางจุลชีววิทยากับ ZEN”

    เพราะเรามีบุคลากรที่ประสบการณ์และมีความชำนาญ ในการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยามีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมีวิธีการวิเคราะห์ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีระบบมาตรฐานควบคุมการทำงานและสภาวะแวดล้อมในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ซึ่งดำเนินการตามระบบมาตรฐานการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005

  3. “สินค้าหรือผลิตภัณฑ์อะไร ที่ควรตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา”

    อาหาร ยาและเครื่องสำอาง ที่มนุษย์ต้องใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ซึ่งสามารถเกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และมีผลต่อสุขภาพ สามารถนำมาตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์เพื่อยืนยันในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ

  4. “ผลของจุลินทรีย์ที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆเป็นอย่างไร”

    ผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เช่นวิงเวียนศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ, กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย, ผิวหนังเป็นผื่นคัน,ผิวหนังรอบดวงตาอักเสบ เป็นต้น ผลต่อคุณภาพสินค้า ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เน่าเสีย, เกิดการเปลี่ยนแปลงของสี, กลิ่นผิดปกติ, ความข้น, ความหนืด มีการเปลี่ยนแปลง เกิดฟองในสินค้านั้นหรือเกิดการแยกชั้น เป็นต้น

ZEN ให้บริการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์อะไรบ้าง

ZEN Innovation Group เป็นหน่วยงานทางด้านห้องปฏิบัติการทดสอบวิเคราะห์ ที่ตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่บริษัทฯ ผลิตก่อน ส่งมอบให้กับลูกค้า พร้อมทั้งให้บริการรับตรวจวิเคราะห์สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง เพื่อหาเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นเชื้อบ่งชี้ และเชื้อก่อโรคชนิดต่างๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ดังนี้

  1. การตรวจวิเคราะห์จำนวนแบคทีเรียที่เจริญโดยใช้อากาศ (Aerobic Plate Count)

    เป็นการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่นิยมใช้สำหรับการตรวจนับจำนวนจุลินทรีย์ (microbial population count) ที่มีชีวิตอยู่ในสินค้า เช่นการตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง

  2. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ยีสต์และรา (Yeast & Mold)

    เป็นการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติซึ่งเป็นต้นเหตุของการ เน่าเสียของอาหารและเครื่องสำอางซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงคุณภาพของสินค้าได้เช่นกัน

  3. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์สแตฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)

    เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่สำคัญในอาหาร ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ พบในมนุษย์ เช่น ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำคัดหลั่ง สิว ฝี หนอง

  4. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา (Salmonella spp.)

    เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative) ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ทำให้เกิดโรคซาลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (infection) ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) พบได้ทั่วไปทั้งในสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

  5. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์อีโคไล (Escherichia coli)

    ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ อาการทั่วไป คือ ท้องร่วง ปวดท้อง ไข้ต่ำ คลื่นไส้ และ อ่อนเพลีย พบในอุจจาระ ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นจึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำ

  6. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ซูโดโมนาส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa)

    ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) เป็นเชื้อโรคฉวยโอกาสจะมีการติดเชื้อกับ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือป่วยมากๆ หรือผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถ ติดเชื้อได้หลายระบบในร่างกายเนื่องจากมีหลายปัจจัยในการก่อให้เกิด เช่น ความสามารถในการเกาะยึดติดกับเยื่อบุผิว

  7. การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)

    เป็นเชื้อราประจำถิ่นของผิวหนังและของเนื้อเยื่อในช่องปาก ลำคอและอาจรวมไปถึงหลอด อาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ และที่อวัยวะเพศ ซึ่งมีอยู่ในร่างกายเป็นปกติ ธรรมดา อยู่แล้ว โดยในสภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ ถ้าเกิดที่เยื่อเมือกในช่องปาก ลำคอ คอหอย ก็จะเรียกว่า เชื้อรา ในช่องปาก

การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ

การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ มีขอบเขตการดำเนินการวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง เช่น

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

ค่า pH หรือค่าความเป็นกรด-ด่าง เป็นการวัดความป็นกรด-ด่างของสารละลายของเหลวหรือน้ำ ระดับพีเอชจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 14 โดยของเหลวที่มีค่าพีเอช น้อยกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด ของเหลวที่มีค่าพีเอชมากกว่า 7 จะเป็นด่าง ส่วนระดับค่าพีเอช ที่ 7.0 หมายถึง “เป็นกลาง” ค่าพีเอชเป็นค่าที่สำคัญที่สะท้อนถึงสภาพทางเคมีของสารละลาย โดยค่าพีเอชมีผลทางชีวภาพกิจกรรมของจุลินทรีย์และพฤติกรรมของสารเคมี ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบหรือควบคุมค่าพีเอชของผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ความหนืด (Viscosity)

เป็นสมบัติทางรีโอโรยี (Rheological properties) ของของเหลว ที่บ่งบอกถึงความ ต้านทานการไหล เป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร และการยอมรับ ของผู้บริโภค ในผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำผลไม้น้ำหวาน น้ำผลไม้เข้มข้น เป็นต้น การทดสอบหาความหนืดของสารละลายจะใช้เทคนิค Brookfield ในการวัดค่า เป็นมาตรความหนืด (Viscometer) ประเภท Rotational viscometer ที่ใช้วัดความหนืด (Viscosity) ของของเหลว มีหน่วยเป็นเซ็นติพอยส์ (Centipoise)

การวัดค่าสี (Color)

ด้วยเครื่อง Color meterซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาเพื่อใช้วัดสีที่มีมาตรฐานและ ลดความไม่เป็นกลางเนื่องจากปัจจัยของแหล่งกำเนิดแสงและผู้สังเกตการณ์ โดยจะวัดออกมาในรูปแบบ ระบบ L*a*b* ซึ่งเป็นระบบการบรรยายสีแบบ 3 มิติ โดยที่ แกน L* จะบรรยายถึงความสว่าง (Lightness) จากค่า +L* แสดงถึงสีขาว จนไปถึง –L* แสดงถึงสีดำ แกน a*จะบรรยายถึงแกนสีจากเขียว (-a*) ไปจนถึงแดง (+a*) แกน b* จะบรรยายถึงแกนสีจากน้ำเงิน (-b*) ไปเหลือง (+b*) สามารถวัดได้ทั้ง สีบนกระดาษ อาหาร ของเหลว แป้ง เป็นต้น

การทดสอบค่าการละลาย (Dissolution test)

การทดสอบการละลาย (Dissolution) ของผลิตภัณฑ์ชนิดเม็ด คือการวัดปริมาณสารสำคัญ (Active ingredient) ที่ละลายออกมาในช่วงเวลาและสภาวะที่กำหนด โดยการทดสอบที่จำลองสภาวะการละลายของปริมาณสารสำคัญในสภาวะของทางเดินอาหารของร่างกาย ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เรียกว่าเครื่องทดสอบการละลาย (Dissolution apparatus)

การทดสอบการแตกตัว (Disintegration)

เป็นการวัดค่าการแตกตัวของเม็ดยาหรือแคปซูล ภายใต้สภาวะทางเดินอาหาร เพราะเมื่อรับประทานยาเข้าไปยาเม็ดจะเกิดการแตกตัว ซึ่งการแตกตัวของยาเม็ด จะเร็วหรือช้าขึ้นกับคุณสมบัติและปริมาณตัวยาต่างๆ เช่น สารช่วยแตกตัว สารช่วยยึดเกาะที่ใช้ในตำรับเมื่อยาเม็ดแตกตัวแล้วตัวยาสำคัญจะละลายและถูก ดูดซึมได้จะเห็นได้ว่าทั้งการแตกตัวนั้นมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด ในเภสัชตำรับได้กำหนดมาตรฐานการแตกตัวตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 37/NF 32 คือ โดยทั่วไปยาเม็ดไม่เคลือบใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทียาเม็ดเคลือบฟิล์ม ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ยาเม็ดฟองฟู่ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีส่วนยาเม็ดออกฤทธิ์นาน ที่อมใต้ลิ้น อมภายในอุ้งปาก ไม่ต้องทดสอบการแตกตัวของยาเม็ดเพราะต้องการให้ ยาออกฤทธิ์นาน ยาเม็ดเคี้ยวก็ไม่ต้องทดสอบการแตกตัวเช่นเดียวกัน

การทดสอบความกร่อน (Friability)

เป็นคุณสมบัติทางกายภาพของเม็ดยาและอาหารเสริมชนิดตอกเม็ดที่แสดงถึง สามารถ ในการทนต่อการกร่อนอันเนื่องมาจากการเสียดสีกันของเม็ด การเสียดสี และการกระทบกระแทกเป็นสาเหตุที่ทำให้เม็ดยาเกิดการบิ่นร้าว แยกหรือแตกก่อน ที่จะถึงมือผู้บริโภคยาเม็ดที่มีค่าความกร่อนน้อยจะแสดงถึงความทนทานต่อแรงใน ระหว่างกระบวนการผลิต การบรรจุ และการขนส่งความกร่อนของเม็ดยาแต่ละชนิด จะกำหนดไว้ไม่เท่ากัน ยิ่งมีค่าน้อยๆยิ่งดี แต่โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 1 %

การทดสอบความแข็ง (Hardness)

เป็นคุณสมบัติทางกายภาพของเม็ดยา และอาหารเสริมชนิดตอกเม็ดที่แสดงถึงความแข็งและทนต่อการแตกหัก เม็ดยา และอาหารเสริมชนิดตอกเม็ดจะต้องสามารถรักษารูปร่างให้คงทนต่อแรงกระทบ กระแทกได้ ซึ่งความแข็งจะมีความสัมพันธ์กับการแตกตัวและการละลายด้วย โดยที่การใช้แรงตอกมากขึ้นจะทำให้เม็ดยามีความแข็งขึ้นความพรุน (Porosity) ของเม็ดยาน้องลงทำให้ของเหลวซึมผ่านเข้าไปในเม็ดยาช้าลง ดังนั้นการแตกตัวและการละลายก็จะช้าลงด้วย ความกร่อนของเม็ดยาลดลง

การวัดค่าความชื้น (Moisture)

โดยเทคนิค Infrared เป็นค่าที่บ่งชี้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอาหาร เป็นสมบัติที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของอาหาร เนื่องจากความชื้นมีผลต่อการเสื่อมเสียของอาหาร (Food spoilage) โดยเฉพาะการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ (Microbial spoilage) ซึ่งกระทบต่ออายุการวางจำหน่าย (Shelf life) การใช้รังสีอินฟราเรดหรือคลื่นไมโครเวฟ (infrared and microwave radiation) การหาปริมาณความชื้นโดยเทคนิค Infrared เป็นการใช้รังสีอินฟราเรด เพื่อระเหยน้ำในตัวอย่าง วิธีวัดความชื้นนี้มีจุดเด่นที่ให้ผลการวัดถูกต้อง จุดเด่นคือ ความถูกต้อง และระยะเวลาสั้น

การวัดค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (Water activity)

- อาหารสด (Fresh food) เป็นอาหารที่เน่าเสียง่าย (Perishable food) ที่มีค่า Water activity มากกว่า 85 เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารทะเล - อาหารกึ่งแห้ง (Intermediate moisture food) หมายถึง อาหารที่มีค่า Water activity ระหว่าง 6-0.85 เช่น นมข้นหวาน ผลไม้แช่อิ่ม กุ้งปรุงรส - อาหารแห้ง (Dried food) หมายถึงอาหารที่มีค่า Water activity น้อยกว่า 0.6 เช่น นมผง ผักผลไม้อบแห้ง กุ้งแห้ง น้ำผลไม้ผง เก๊กฮวย ผงชงดื่ม กระชายผงชงดื่ม

การวัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity)

เป็นวิธีวัดความสามารถของน้ำในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าซึ่งเกิดจากมีอยู่ของสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น แอนไอออนของคลอไรด์ไนเตรต ซัลเฟต และฟอสเฟต หรือ แคทไอออนของโซเดียมแมกนีเซียม เหล็ก และอะลูมิเนียม ซึ่งค่าการนำไฟฟ้าสามารถนำไปคำนวณเป็นค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำ(Total dissolved solids; TDS) และความเค็ม (Salinity)

การวัดค่าการหักเหแสงและหาความหวาน ด้วยเทคนิค Refractometer

เป็นเทคนิคที่ใช้หลักการเมื่อสารละลายที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันเมื่อแสงส่องผ่านจะเกิดการหักเห และให้ค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกันซึ่งจากความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงนำมาประยุกต์ใช้วัดค่าความเข้มข้นของสารละลายได้ สามารถประยุกต์ใช้ในงาน ปริมาณน้ำตาล ในน้ำคั้นจากผลไม้สด น้ำเชื่อม เครื่องดื่ม เช่น ค่าที่ได้มีหน่วยเป็น องศา บริกซ์ (เปอร์เซ็นต์น้ำหนักต่อน้ำหนัก)