กลับสู่ด้านบน

มะเร็งกระเพาอาหาร

[:th]ปัจจุบันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การดำรงชีวิต สูบบุหรี่ ดื่มสุรามาก อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้ และอีกสาเหตุอาจเกี่ยวเนื่องจากการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหาร  การเกิดติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหารเจริญผิดปกติ หรือจากการลุกลามของเนื้อเยื่อจากลำไส้ เคยผ่านการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เคยเป็นโรคกระเพาะอาหารติดเชื้อ H. pylori   ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเป็นระยะ ๆ ถ้าเจอในระยะแรก ๆ มีโอกาสหายขาดสูงมาก และถ้ามีอาการบางอย่างน่าสงสัยควรไปตรวจโรคนี้ โดยเฉพาะมีประวัติรักษากระเพาะอาหาร มานานเกิน 1-2 เดือนไม่หายเสียที ถ่ายดำ ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ถ้าบังเอิญตรวจพบโรคนี้ แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูระยะของโรค และการลุกลามของลโรค ถ้าพบว่าเซลล์มะเร็งยังไม่กระจายตัว การผ่าตัดถือเป็นการรักษาหลักเพื่อเอาเนื้อร้ายและต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งอาจจะกระจายไปออก โดยอาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

 

อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • อ่อนเพลีย
การวินิจฉัยโรคของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้
  • การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวนด์ จะช่วยให้แพทย์ทราบความลึกของมะเร็งกระเพาะอาหารหรือการกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงของมะเร็ง
  • การเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพร่กระจายของโรคไปในปอด
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา
ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อ H.Pylori  พบว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • สภาพแวดล้อม อาศัยประเทศที่ต่างกัน พื้นที่ต่างกันมีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแต่ละพื้นที่จะไนเตรทปนเปื้อนใน ดิน และน้ำ ในปริมาณมาก และขาดแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ การขาดการกินผักผลไม้สด หรือรับประทานอาหารที่มีราปนเปื้อน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบคัวเคยเป็นมาก่อน โดยจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น 2-4 เท่า
กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากในประเทศไต้หวัน และญี่ปุ่น

  • ผู้ที่อายุ 40-45 ปี
  • ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด กินอาหารยาก และอาเจียนบ่อย
  • ผู้ที่ชอบทานอาหารหมักดอง ทอด ย่าง รมควัน
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง
การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดอง อาหารเค็ม และการสูบบุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ รักษาการติดเชื้อ H. pylori   หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณมาก การรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพราะอาหารได้[:en]ปัจจุบันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การดำรงชีวิต สูบบุหรี่ ดื่มสุรามาก อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้ และอีกสาเหตุอาจเกี่ยวเนื่องจากการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหาร  การเกิดติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหารเจริญผิดปกติ หรือจากการลุกลามของเนื้อเยื่อจากลำไส้ เคยผ่านการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เคยเป็นโรคกระเพาะอาหารติดเชื้อ H. pylori   ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเป็นระยะ ๆ ถ้าเจอในระยะแรก ๆ มีโอกาสหายขาดสูงมาก และถ้ามีอาการบางอย่างน่าสงสัยควรไปตรวจโรคนี้ โดยเฉพาะมีประวัติรักษากระเพาะอาหาร มานานเกิน 1-2 เดือนไม่หายเสียที ถ่ายดำ ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ถ้าบังเอิญตรวจพบโรคนี้ แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูระยะของโรค และการลุกลามของลโรค ถ้าพบว่าเซลล์มะเร็งยังไม่กระจายตัว การผ่าตัดถือเป็นการรักษาหลักเพื่อเอาเนื้อร้ายและต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งอาจจะกระจายไปออก โดยอาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

 

อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • อ่อนเพลีย

การวินิจฉัยโรคของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้
  • การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวนด์ จะช่วยให้แพทย์ทราบความลึกของมะเร็งกระเพาะอาหารหรือการกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงของมะเร็ง
  • การเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพร่กระจายของโรคไปในปอด
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา

ปัจจัยเสี่ยง

  • การติดเชื้อ H.Pylori  พบว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • สภาพแวดล้อม อาศัยประเทศที่ต่างกัน พื้นที่ต่างกันมีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแต่ละพื้นที่จะไนเตรทปนเปื้อนใน ดิน และน้ำ ในปริมาณมาก และขาดแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ การขาดการกินผักผลไม้สด หรือรับประทานอาหารที่มีราปนเปื้อน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบคัวเคยเป็นมาก่อน โดยจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น 2-4 เท่า

กลุ่มเสี่ยง

พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากในประเทศไต้หวัน และญี่ปุ่น

  • ผู้ที่อายุ 40-45 ปี
  • ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด กินอาหารยาก และอาเจียนบ่อย
  • ผู้ที่ชอบทานอาหารหมักดอง ทอด ย่าง รมควัน
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง

การป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดอง อาหารเค็ม และการสูบบุหรี่

 

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างชัดเจน แต่สามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ รักษาการติดเชื้อ H. pylori   หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณมาก การรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพราะอาหารได้