กลับสู่ด้านบน

โรคที่ติดต่อทางพันธุกรรมคืออะไร? มีโรคอะไรบ้าง?

โรคติดต่อทางพันธุกรรม คืออะไร

โรคติดต่อทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติของ ยีน ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก โรคทางพันธุกรรม ยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต โรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่งความผิดปกติของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ และความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกมีดังต่อไปนี้

1.โรคธาลัสซีเมีย

เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะธาลัสซีเมีย

2.โรคซีสติกไฟโบรซีส

อาการจะเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่น ๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกติ

3.โรคคนเผือก

เกิดจากยีนที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างเม็ดสีขึ้นในคนที่มีลักษณะเผือก โดยส่วนมากแล้ว ภาวะผิวเผือกจะมีผลมาจากการถ่ายทอดยีนด้อยมาจากทั้งพ่อและแม่ โรคคนเผือกไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่เป็นภาหะนำโรคไม่สามารถติดกันได้ด้วยการสัมผัสหรือทางเลือด

4.โรคดักแด้

เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจาก การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย

5.โรคท้าวแสนปม

เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือ ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่แตกต่างกัน

6.โรคลูคีเมีย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวจำนวนมากในไขกระดูก จนเบียดบังการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่วนเม็ดเลือดขาวที่สร้างนั้น ก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน จึงไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้

7.โรคเบาหวาน

เกิดจากสภาพร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามความเหมาะสม ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ผลของการเป็นเบาหวานทำให้ผู้ป่วยมีอาการมีน้ำตาลในเลือดสูง

8.ดาวน์ซินโดรม

เป็นความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน

9.ตาบอดสี

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็นอาการที่เห็นสีต่างกันไปจากสีเดิม เห็นสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่ง

10.โรคฮีโมฟีเลีย

เป็นอาการเลือดออกง่าย หยุดยาก อาการจะมีเลือดออกตามข้อ ร่างกายจะมีรอยเขียวช้ำเป็นจ้ำ ๆ

11.ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี

เด็กที่เป็นโรคนี้จะตัวเหลืองมากกว่าปกติ และเมื่อได้รับสารบางอย่างจะทำให้เส้นเลือดแดงแตก ภาวะนี้เกิดจากพันธุกรรมจากพ่อแม่

จะเห็นได้ว่า โรคทางพันธุกรรม ส่วนใหญ่ เป็นโรคที่ผู้ที่ได้รับการติดต่อโรคจะเกิดความกังวลด้านการใช้ชีวิต ไม่ว่า กังวลการเข้าสังคม กังวลด้านสุขภาพ ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี เราควรที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดทางพันธุกรรม เพราะเชื่อได้ว่าไม่มีใครอยากให้คนที่เรารัก ต้องมีปัญหาสุขภาพ เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ที่กล่าวมานี้ คุณควรวางแผนชีวิตตั้งแต่เริ่มแต่งงาน จนถึงวางแผนการมีลูก โดยการตรวจสุขภาพหรือ ตรวจยีน ก่อนมีลูกเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้