ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง จากการใช้เครื่องอาบแดดด้วย รังสี UV
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุเกิดจากเครื่องอาบแดดเทียม ที่ใช้รังสียูวี เปลี่ยนสีผิว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความอันตรายอย่างมาก
โดยองค์การเพื่อสุขภาพแห่งสหประชาชาติ (International Agency for Research on Cancer) ได้จัดให้อุปกรณ์อาบแดดเทียม ด้วยรังสียูวี เป็นสารก่อเกิดมะเร็งในมนุษย์ เมื่อปี พ. ศ. 2552 แต่ถึงกระนั้นการใช้เครื่องดังกล่าว ฯ ยังคงเป็นที่นิยมในแถบประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงสาว
หลักฐานใหม่เกี่ยวกับผลเสียที่เกิดขึ้นของเครื่องอาบแดดด้วย รังสี UV (Sunbed)
การศึกษาได้ดำเนินการทดสอบกับสตรีชาวนอร์เวย์จำนวน 141,000 คน ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยที่ 14 ปี ผลพบว่าผู้หญิงที่อายุมี 30 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้เครื่องอาบแดดเทียม ถึง 32 % ที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดเนื้องอกที่ผิวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยใช้
นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงสาวที่เริ่มใช้เครื่องอาบแดดก่อนอายุ 30 ปี เป็นระยะเวลาเฉลี่ย 2 ปีขึ้นไป ผลการวินิจฉัยพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง กว่าผู้ที่ไม่เคยใช้เครื่องอาบแดดเทียม และยังพบผลพวงของการใช้เครื่องอาบแดดที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของรังสียูวี ที่อยู่รอบตัว ทั้งสีผิวและสีผม เมื่อถูกแดดเผายิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
รายงานข้อมูลด้านสาธารณสุข
การทำงานของเครื่องอาบแดดเทียม สามารถปลดปล่อยรังสี UVA ได้ถึง 6 เท่า และ UVB ได้มากเป็นสองเท่าของแสงแดดในช่วงฤดูร้อนของออสโล เมืองหลวงประเทศนอร์เวย์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องอาบแดดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอก โดยมีผลการตรวจวินิจฉัย พบว่าผู้คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น และมีอายุเฉลี่ยที่น้อยลง
แหล่งข้อมูล: Science Daily