กลับสู่ด้านบน

เทคโนโลยีใหม่! ที่จะช่วยให้คุณหลับลึกมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันมีคนที่นอนไม่ค่อยหลับในช่วงเวลาที่ควรนอนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดทางด้านอุปกรณ์ช่วยในเรื่องการนอนหลับเติบโตมากขึ้น และหนึ่งในแนวคิดล่าสุดมาจาก Xuan Yao นักออกแบบและผู้ประกอบการชาวจีน เจ้าของบริษัท FitSleep ที่คิดค้นอุปกรณ์ใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า FitSleep α1 ที่ใช้คลื่นอัลฟาแผ่กระจายออกมาให้เรามีการนอนหลับที่ดีขึ้น

FitSleep α1 จะมีบางอย่างคล้ายกับผลิตภัณฑ์อื่นที่มีอยู่ในตลาด เช่น Juvo มีเซ็นเซอร์ที่จะเก็บข้อมูลของร่างกายของผู้ใช้ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและรูปแบบการหายใจ เพื่อที่จะสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม FitSleep α1 ยังมีส่วนคล้าย SleepSense ของซัมซุงซึ่งใช้การตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ ทำรายงานตามระยะเวลาและส่งเสียงกล่อมออกมา แต่สิ่งที่ทำให้ FitSleep แตกต่างออกไปคือ การใช้คลื่นอัลฟาที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนอนหลับลึกได้อย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการกล่าวอ้างดังกล่าว FitSleep ได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยการนอนหลับ มหาวิทยาลัยปักกิ่งในประเทศจีน โดยตรวจสอบการนอนหลับของผู้คนจำนวน 800 คน อายุ 15-80 เป็นเวลา 60 วัน ในช่วง 10 วันแรกยังไม่เปิดใช้คลื่นอัลฟา พบว่าเวลาที่ใช้ในการนอนจนหลับของผู้ร่วมทดสอบมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน รวมถึงระดับการหลับลึกและคะแนนคุณภาพการนอนหลับก็ใกล้เคียงกัน หลังจากนั้นจะมีการเปิดใช้คลื่นอัลฟา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เปิดใช้งานคลื่นอัลฟาจะค่อยๆลดเวลาที่ใช้ในการนอนให้หลับ หลับได้ลึกขึ้น รวมถึงคะแนนคุณภาพการนอนหลับก็ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม Mark Boulos นักวิจัยประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้บอกว่าผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีงานวิจัยใดๆที่สนับสนุนว่าการใช้คลื่นอัลฟาช่วยให้คนนอนหลับเช่นเดียวกับ Neil Kline จากสมาคมการนอนหลับของชาวอเมริกัน ที่บอกว่าไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของพวกเขาจะใช้งานได้ผล

แต่ Xuan Yao บอกว่าที่เป็นอย่างนั้นเป็นเพราะ FitSleep คือผู้บุกเบิกการใช้คลื่นอัลฟาในการช่วยการนอนหลับเป็นรายแรกนั่นเอง หลักการทำงานของอุปกรณ์ตัวนี้มีดังนี้

หลังจากที่ศีรษะของผู้ใช้ถึงหมอน FitSleep α1จะเริ่มปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในช่วง 0-13 เฮิรตซ์ และสแกนดูว่าร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร เมื่อได้รับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและรูปแบบการหายใจ FitSleep α1 ก็จะปรับแต่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและส่งคลื่นอัลฟาออกมาขับกล่อมให้ผู้ใช้นอนหลับสนิท

อุปกรณ์มีขนาดเล็ก แต่มีเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือน ความดัน และเซ็นเซอร์อินฟาเรดที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ ชุดกรองและวงจรขยายจะช่วยในการอ่านสัญญาณชีพและบันทึกข้อมูลไว้ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกเก็บไว้และสามารถส่งไปยังโทรศัพท์มือถือผ่านทางบลูทูธ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปที่เซิร์ฟเวอร์เพื่อเรียกใช้โปรแกรมเพื่อสร้างรายงานการนอนหลับ จากข้อมูลทั้งหมดนี้ FitSleep จะสร้างคำแนะนำสำหรับผู้ใช้เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับปรุงรูปแบบการนอนหลับให้ดีขึ้น FitSleep กล่าวว่าเป็นทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพและนักวิชาการในการให้คำแนะนำในการนอนหลับ

นอกจากนี้ FitSleep α1 ยังมีระบบที่หลีกเลี่ยงการปลุกตอนนอนหลับลึกด้วย มันจะปลุกผู้ใช้เฉพาะเมื่อพวกเขาอยู่ในช่วงที่หลับไม่ลึกเท่านั้น นอกจากนี้แอพพลิเคชั่นยังอนุญาตให้สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือของคนใกล้ชิดได้ (เช่น สมาชิกในครอบครัว คู่รัก ฯลฯ ) เพื่อที่พวกเขาจะสามารถตรวจสอบข้อมูลร่างกายของคุณได้ และหากพบความผิดปกติใดๆก็สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที FitSleep α1 เปิดให้จองแล้วในราคาพิเศษเครื่องละ 129 ดอลลาร์สหรัฐ และจะจัดส่งได้ในราวเดือนกันยายน 2016 นี้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : takieng

 

ในปัจจุบันมีคนที่นอนไม่ค่อยหลับในช่วงเวลาที่ควรนอนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดทางด้านอุปกรณ์ช่วยในเรื่องการนอนหลับเติบโตมากขึ้น และหนึ่งในแนวคิดล่าสุดมาจาก Xuan Yao นักออกแบบและผู้ประกอบการชาวจีน เจ้าของบริษัท FitSleep ที่คิดค้นอุปกรณ์ใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า FitSleep α1 ที่ใช้คลื่นอัลฟาแผ่กระจายออกมาให้เรามีการนอนหลับที่ดีขึ้น

FitSleep α1 จะมีบางอย่างคล้ายกับผลิตภัณฑ์อื่นที่มีอยู่ในตลาด เช่น Juvo มีเซ็นเซอร์ที่จะเก็บข้อมูลของร่างกายของผู้ใช้ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและรูปแบบการหายใจ เพื่อที่จะสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม FitSleep α1 ยังมีส่วนคล้าย SleepSense ของซัมซุงซึ่งใช้การตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ ทำรายงานตามระยะเวลาและส่งเสียงกล่อมออกมา แต่สิ่งที่ทำให้ FitSleep แตกต่างออกไปคือ การใช้คลื่นอัลฟาที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนอนหลับลึกได้อย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการกล่าวอ้างดังกล่าว FitSleep ได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยการนอนหลับ มหาวิทยาลัยปักกิ่งในประเทศจีน โดยตรวจสอบการนอนหลับของผู้คนจำนวน 800 คน อายุ 15-80 เป็นเวลา 60 วัน ในช่วง 10 วันแรกยังไม่เปิดใช้คลื่นอัลฟา พบว่าเวลาที่ใช้ในการนอนจนหลับของผู้ร่วมทดสอบมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน รวมถึงระดับการหลับลึกและคะแนนคุณภาพการนอนหลับก็ใกล้เคียงกัน หลังจากนั้นจะมีการเปิดใช้คลื่นอัลฟา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เปิดใช้งานคลื่นอัลฟาจะค่อยๆลดเวลาที่ใช้ในการนอนให้หลับ หลับได้ลึกขึ้น รวมถึงคะแนนคุณภาพการนอนหลับก็ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม Mark Boulos นักวิจัยประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้บอกว่าผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีงานวิจัยใดๆที่สนับสนุนว่าการใช้คลื่นอัลฟาช่วยให้คนนอนหลับเช่นเดียวกับ Neil Kline จากสมาคมการนอนหลับของชาวอเมริกัน ที่บอกว่าไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของพวกเขาจะใช้งานได้ผล

แต่ Xuan Yao บอกว่าที่เป็นอย่างนั้นเป็นเพราะ FitSleep คือผู้บุกเบิกการใช้คลื่นอัลฟาในการช่วยการนอนหลับเป็นรายแรกนั่นเอง หลักการทำงานของอุปกรณ์ตัวนี้มีดังนี้

หลังจากที่ศีรษะของผู้ใช้ถึงหมอน FitSleep α1จะเริ่มปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในช่วง 0-13 เฮิรตซ์ และสแกนดูว่าร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร เมื่อได้รับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและรูปแบบการหายใจ FitSleep α1 ก็จะปรับแต่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและส่งคลื่นอัลฟาออกมาขับกล่อมให้ผู้ใช้นอนหลับสนิท

อุปกรณ์มีขนาดเล็ก แต่มีเซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือน ความดัน และเซ็นเซอร์อินฟาเรดที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ ชุดกรองและวงจรขยายจะช่วยในการอ่านสัญญาณชีพและบันทึกข้อมูลไว้ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกเก็บไว้และสามารถส่งไปยังโทรศัพท์มือถือผ่านทางบลูทูธ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปที่เซิร์ฟเวอร์เพื่อเรียกใช้โปรแกรมเพื่อสร้างรายงานการนอนหลับ จากข้อมูลทั้งหมดนี้ FitSleep จะสร้างคำแนะนำสำหรับผู้ใช้เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับปรุงรูปแบบการนอนหลับให้ดีขึ้น FitSleep กล่าวว่าเป็นทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพและนักวิชาการในการให้คำแนะนำในการนอนหลับ

นอกจากนี้ FitSleep α1 ยังมีระบบที่หลีกเลี่ยงการปลุกตอนนอนหลับลึกด้วย มันจะปลุกผู้ใช้เฉพาะเมื่อพวกเขาอยู่ในช่วงที่หลับไม่ลึกเท่านั้น นอกจากนี้แอพพลิเคชั่นยังอนุญาตให้สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือของคนใกล้ชิดได้ (เช่น สมาชิกในครอบครัว คู่รัก ฯลฯ ) เพื่อที่พวกเขาจะสามารถตรวจสอบข้อมูลร่างกายของคุณได้ และหากพบความผิดปกติใดๆก็สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที FitSleep α1 เปิดให้จองแล้วในราคาพิเศษเครื่องละ 129 ดอลลาร์สหรัฐ และจะจัดส่งได้ในราวเดือนกันยายน 2016 นี้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : takieng