
การตรวจเลือด หรือ Blood Test คือ ขั้นตอนหนึ่ง ที่เป็นขั้นตอนสำคัญที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ เนื่องจาก เลือด เป็นตัวกลางที่นำพาสารอาหาร น้ำ เชืิ้อโรค สารพิษ หรือ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่ร่างกายได้รับ นำไปสู่ร่างกาย ดังนั้นการ ตรวจเลือด จึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจสอบ หาสารปนเปื้อน หรือ เชื้อไวรัส ต่างๆ ที่เข้าอยู่ในร่างกายได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วที่สุด
ประโยชน์ของการตรวจเลือด คืออะไร
- การตรวจเลือด คือ การวินิจฉัยโรคบางชนิด ที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการซักประวัติทางการแพทย์ รวมไปถึงสามารถช่วยวินิจฉัยโรคที่ลักษณะคล้ายคลึงกันได้ เช่น โรคตับอ่อน โรคอาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
- การตรวจเลือด สามารถนำไปวิเคราะห์แนวทางการรักษาของโรคได้ตรงจุดมากขึ้น เช่น การตรวจวัดระดับปริมาณยาที่อยู่ในเลือด เพื่อควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การควบคุมอาหารที่ใช้ข้อมูลน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
- ในกรณีผู้ป่วยบางรายที่ไม่แสดงอาการผิดปกติของโรค การตรวจเลือด จะสามารถวิเคราะห์โรคแฝงได้ เช่น โรคเอดส์ระยะแรก และโรคอื่นๆ ที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก
ขั้นตอนการตรวจเลือด มีอย่างไรบ้าง
ในกระบวนการขั้นตอนการ ตรวจเลือด มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
- รับคำปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้คำแนะนำ ซักประวัติและวิเคราะห์แนวทางการรักษา การตรวจเลือด อย่างถูกต้อง
- เตรียมตัวก่อนตรวจเลือด ควรงดน้ำ งดอาหาร และยาต่างๆ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพราะจะอาจมีผลกระทบต่อผลการตรวจเลือด
- เจ้าหน้าที่ หรือ แพทย์ที่เกี่ยวข้องจะทำการ เจาะเลือด ที่บริเวณข้อพับแขน ซึ่งเป็นหลอดเลือดดำ
- เจ้าหน้าที่จะนำ เลือด ที่ได้นำเข้าเครื่องแลป วิเคราะห์ค่าต่างๆ และสรุปออกมาให้ แพทย์เป็นผู้รายงานผลตรวจเลือด เพื่อนำไปประกอบในการรักษาหรือให้คำแนะนำอื่นๆ ต่อไป
ผลการ ตรวจเลือด ใช้ระยะเวลาเท่าใด
โดยปกติการตรวจเลือด จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
- กรณีตรวจผลเลือด เร่งด่วน จะใช้เวลาโดยประมาณ 1-2 ชั่วโมง ซึ่งการตรวจแบบเร่งด่วน จะมีค่าใช้จ่ายสูงและอาจผิดพลาดได้
- กรณีตรวจผลเลือด ปกติ จะใช้เวลาจากห้องแลปโดยประมาณ 24 ชั่วโมง หลังการตรวจ
เราจำเป็นต้องตรวจเลือด หรือไม่
การตรวจเลือด ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการตรวจเลือด เพื่อหาโรคติดต่อ โรคทางพันธุกรรม ที่สืบได้จากทายาท เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ทั้งนี้การตรวจเลือด ยังเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นการเตือนภัย เพื่อให้เราได้ป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที โดยเฉพาะโรคแฝงที่ไม่ได้แสดงอาการในระยะแรก เราจึงควรได้รับการตรวจเลือดอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีสมบูรณ์ตลอดไป