กลับสู่ด้านบน

มีดีกว่าที่คิด !! เห็ดถั่งเช่า (Cordyceps) สายพันธุ์ยอดนิยมที่นำมาใช้ทางการแพทย์!!

เชื่อว่าหลายๆท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวสรรพคุณของถั่งเช่ากันมานาน วันนี้ เรามารวบรวมสายพันธุ์ถั่งเช่าที่เป็นที่นิยมที่ใช้ทางการแพทย์ มาในบทความนี้  

ลองมาทำความรู้จักกันก่อน เห็ดถั่งเช่า (Cordyceps mushroom) เป็นเชื้อราปรสิตของแมลง (Entomofungus) ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes ซึ่งเชื้อราสายพันธุ์นี้มีมากกว่า 750 สายพันธุ์ทั่วโลก พบได้ในแถบทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และไทย ประมาณ 400 สายพันธุ์

แต่เห็ดถั่งเช่าที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรมและทางการค้านั้นมีทั้งหมด 4 ชนิดคือ เห็ดถั่งเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis)  เห็ดถั่งเช่าสีทอง (C. militaris)  เห็ดถั่งเช่าหิมะ (Paecilomyces tenuipes หรือ Isaria japonica) และเห็ดถั่งเช่าจั๊กจั่น     (P. scicadae หรือ I. sinclairii) และ รู้หรือไม่ว่า เห็ดถังเช่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ เห็ดถั่งเช่าทิเบต (O. sinensis)  ซึ่งแน่นอนว่ามีราคาแพงที่สุดด้วย ตอนนี้เรามาทำความรู้จัก สายพันธุ์ของเห็ดถังเช่า ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางเภสัชกรรม ทางเวชสำอางทั้ง 4 ชนิด กัน

1.ถั่งเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis หรือชื่อเดิม Cordyceps sinensis)

ถั่งเช่าทิเบต หรือถั่งเช่าแท้ เป็นถังเช่าที่มีชื่อเสียงและมีค่ามากที่สุด เพราะเห็ดถังเช่าชนิดนี้จะเจริญเติบโตจากตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนที่อยู่บนเทือกเขาหิมาลัยที่มีความสูงกว่า 3,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ดังนั้น จึงมีความยากลำบากในการหาถั่งเช่าทิเบตอย่างมาก และยังมีประวัติเรื่องเล่าว่าใน สมัยโบราณคนเลี้ยงสัตว์บนที่ราบสูงทิเบต นั้นสังเกตเห็นว่า สัตว์ที่เลี้ยงไปกินเห็ดดอกเล็กๆ ที่มีลักษณะคล้ายใบหญ้าเข้าไปแล้วมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรค และในสัตว์ตัวที่มีอายุมาก พบว่ามีท่าทางกระฉับกระเฉงเหมือนเป็นหนุ่มสาว จึงเก็บกลับมาทานบ้าง แล้วพบว่ามีผลดีดีต่อสุขภาพ ถือเป็นยาบำรุงชั้นเลิศ

2.ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris)

เห็ดถั่งเช่าสีทอง เป็นเห็ดที่ได้จากการเพาะเลี้ยง โดยมีการเพาะกันเป็นมานานหลายสิบปีที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และอเมริกา เห็ดถั่งเช่าสีทองสามารถทำการเพาะเลี้ยงและเติบโตในแลป โดยการใช้ตัวหนอนเพาะหรืออาหารสังเคราะห์ สามารถชักนำให้เป็นดอกเห็ดได้โดยใช้อากาศเย็น ซึ่งถั่งเช่าที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นถั่งเช่าสีทอง เนื่องจากถังเช่าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับถังเช่าทิเบตนั่นเอง

ภาพจาก : www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/2015/02/poster-cordyceps.pdf

3.ถังเช่าหิมะ  (Paecilomyces tenuipes หรือ Isaria japonica)

ถั่งเช่าหิมะ หรือถั่งเช่าเกาหลี (Snowflake Dongchunghacho) นิยมเพาะเลี้ยงโดยใช้หนอนไหม โดยจะพ่นเชื้อราให้กับหนอนไหมในช่วงที่หนอนไหมกำลังลอกคราบ เชื้อราจะเข้าเจริญในตัวหนอนไหมและจะเจริญเต็มที่ตอนที่หนอนไหมเปลี่ยนไปเป็นตัวดักแด้ แล้วดักแด้จะตายลง จากนั้นจะตัดเอาดักแด้ออกจากรังไหม นำไปจัดเรียงในถาดเพาะ รองพื้นด้วยกระดาษหรือแผ่นโฟมบางๆ แล้วนำไปเพาะโยให้แสงและความชื้น เชื้อราก็จะงอกดอกเห็ดขึ้นมา จะนำดักแด้ที่มีดอกเห็ดขึ้นไปอบให้แห้ง นำไปบดเป็นผง ชาวเกาหลีนิยมบริโภคเพื่อป้องกันโรคมะเร็งโดยนำมาอบแห้งทำเป็นผงใช้ปรุงอาหารต่างๆ   

[อ้างอิงข้อมูลจาก : www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/2015/02/poster-cordyceps.pdf ]

4.ถั่งเช่าจักจั่น (P. scicadae หรือ I. sinclairii)

ถั่งเช่าจักจั่น หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ว่านจักจั่น หรือว่านเรไร เป็นดอกเห็ดที่เกิดขึ้นบนตัวอ่อนของจักจั่น จึงมีชื่อเรียกว่าถังเช่าจักจั่นนันเอง สามารถเพาะเลี้ยงได้โดยไม่ต้องอาศัยห้องเย็น

 

รู้จักถั่งเช่าทั้ง 4 สายพันธุ์แล้ว แล้วมารู้จักสารสำคัญของถั่งเช่ากันบ้าง

สารคอร์ไดเซปิน คือ สารสำคัญในถั่งเช่า ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  ช่วยให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายคล่องตัวขึ้น

ช่วยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดเข้าสู่ปอดและหัวใจ  ช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น เป็นตัวช่วยเรื่องปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในเพศชาย และยังช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหารให้ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มขึ้น เป็นต้น

แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมถั่งเช่ามีการจำหน่ายมากมาย แต่แน่นอนว่าในเรื่องของเกรดและคุณภาพย่อมแตกต่างกันออกไปในแต่ละผู้ผลิต ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรอบคอบก่อนรับประทานคือสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจสอบส่วนประกอบและปริมาณที่ระบุเอาไว้อย่างละเอียด เพราะผู้ผลิตบางรายอาจเลือกใช้ถั่งเช่าที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่ำ มีสารปนเปื้อน ควรเลือกทานจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเท่านั้น เพื่อจะได้ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างแท้จริง 

 [อ้างอิงข้อมูลจาก : ผลของสูตรอาหารเทียมต่อการเกิดดอกและการผลิตสารสาคัญทางยาของเห็ดถั่งเช่าสีทอง จากวารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ (III): M02/34-46, 2559]