กลับสู่ด้านบน

ทำความรู้จัก ไบโพล่าร์ โรคคนสองบุคลิก พร้อมวิธีรักษา

โรคไบโพล่าร์ หรือที่คนไทยเราจะรู้จักกันว่า โรคคนสองบุคลิก จากข้อมูลการวิจัยพบว่าปัจจุบันจะมีผู้ป่วยที่คาดว่าน่าจะเป็นไบโพล่าร์ มากขึ้นทุกๆ ปี จนทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วโรคไบโพล่าร์ นี้คือโรคอะไร มีอาการอย่างไร และมีอันตรายหรือไม่ วันนี้เราจึงจะมาแลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องราวของ โรคไบโพล่าร์ เพื่อให้ทุกคนได้วิเคราะห์และสังเกตุ เพื่อที่จะได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้องมาฝากกันครับ

โรคไบโพล่าร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว Bipolar Disorder

จากงานวิจัยพบว่า คนเรามีโอกาสที่จะป่วยเป็น โรคอารมณ์สองขั้ว นี้ได้ประมาณ 1% โดยหากเรามีความรู้และความเข้าใจของโรคนี้ ก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันทั้งตัวเองและคนรอบข้าง โรคอารมณ์สองขั้ว ก็จะมีลักษณะทั่วไป คือ มีลักษณะของอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างแตกต่างกัน 2 แบบ ได้แก่

  1. อารมณ์ซึมเศร้า เมื่อมีอาการจะมีอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ตรวจสอบ 9 อาการที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคซึมเศร้า
  2. อารมณ์คึกคัก เมื่อมีอาการจะมีอาการอยู่ไม่เป็นที่ คึกคัก พลุกพล่าน
การแสดงออกของคนที่เสี่ยงเป็น โรคไบโพล่าร์
  1. ไม่มีช่วงเวลาการแสดงอาการแน่นอน เช่น รายชั่วโมง รายวัน หรือ รายสัปดาห์
  2. อาจจะมีลักษณะซึมเศร้า ปกติ และ คึกคัก พลุกพล่าน ในช่วงเวลาเดียวกัน
  3. โดยปกติผู้ที่ป่วยโรคไบโพล่าร์ จะมีอาการซึมเศร้า มากกว่า
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย โรคไบโพล่าร์

หากในกรณีตรวจสอบพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไบโพล่าร์ ควรได้รับคำแนะนำและการปรึกษาจากแพทย์ และหากตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ จริงๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาปรับอารมณ์ (Mood Stabilizer) เพื่อควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในปกติ

ผู้ป่วย โรคอารมณ์สองขั้ว ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการรักษา ด้วยการทานยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรระมัดระวังการเกิดอาการกำเริบของโรคนี้ เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคไบโพล่าร์ มักจะไม่คิดว่าตัวเองป่วย และหยุดการรักษาไปเอง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการรักษา รวมไปถึงพักผ่อนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความเครียด

ขอบคุณข้อมูล จาก เฟซบุ๊คเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย