
ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันรูปแบบหนึ่งที่ร่างกาย โดยไตรกลีเซอร์ไรด์จะได้จากการอาหารที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายผลิตขึ้นมาเองจากตับ หากร่างกายมีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์มากเกินไป ไตรกลีเซอร์ไรด์จะถูกนำไปเก้บเป้นเนื้อเยื่อไขมัน (Body Fat) และพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้กลายเป็นโรคอ้วน
ค่าปกติของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์อยู่ที่เท่าไร
โดยปกติแล้วคนทั่วไปจะมี ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดไม่สูง ควรอยู่ในระดับ 50 – 150 mg/dL แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาไม่น้อยกว่า 8 – 12 ชั่วโมง และพบว่าค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด สูงกว่า 200 mg/dL แสดงว่าร่างกายกำลังเกิดภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงผิดปกติ
ใครที่มีความเสี่ยงต่อการที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
- ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทที่ไขมันมากเกินไป
- ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทน้ำตาล ของหวานมาเกินไป
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ที่ส่งผลความผิดปกติกับระดับไขมัน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
- ผู้ที่สูบบุหรี่ กินเหล้า เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์
- ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์ที่ย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์
ความแตกต่างระหว่างไขมันคอเลสเตอรอล และ ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์
ไตรกลีเซอร์ไรด์ ต่างจาก คอเลสเตอรอล เพราะคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ไม่มีค่าในเชิงพลังงาน แต่ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ มีค่าพลังงานโดยประมาณ 9 แคลอรี่ ต่อ 1 กรัม ดังนั้น ในกรณีมิได้บริโภคอาหารคาร์โปไฮเดรต ร่างกายก็นำไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมไว้ เอาออกมาเผาผลาญสร้างพลังงาน แต่ คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่ไว้สร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย ไม่ได้ไว้เป็นพลังงานให้กับร่างกายแต่อย่างใด