กลับสู่ด้านบน

นักวิทยาศาสตร์กำลังจะชุบชีวิต แมมมอธ คืนชีพอีกครั้ง โดยใช้เซลล์อายุกว่า 28,000 ปี

ลักษณะโดดเด่นของแมมมอธ ไม่ว่าจะเป็น ขนที่ยาวรุงรัง ความสามารถพิเศษในการปรับตัวให้อยู่ได้สิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิติดลบ โดยใช้ไขมันใต้ผิวหนัง และเลือดที่สามารถปรับสภาพได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ บวกกับลักษณะที่คล้ายช้างในปัจจุบัน เช่น มีลำตัวที่ยาวกว่าเล็กน้อยมันจะไม่ได้มีชีวิตยู่แค่ในโลกเวทมนตร์ ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ อีกต่อไป

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0015

มันคือ สิ่งมีชีวิตที่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ท ตั้งใจจะสร้างขึ้นมา (หรือเรียกว่า “ชุบชีวิต” ดังที่กลุ่มผู้สนับสนุน โครงการที่กำลังเป็นที่โต้เถียงกันนี้  ใช้เรียกการทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง) ซึ่งพวกเขาวางแผนที่จะทำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยการใช้เทคโนโลยีตัดแต่งยีน “CRISPR” รวมเอา DNA ของแมมมอธ กับ ช้างสายพันธุ์ปัจจุบัน เข้าด้วยกัน ทีมนักวิทยาศาสตร์เปิดตัวความคิดนี้ แก่สายตาชาวโลก โดยใช้ชื่อว่า “Mammophant” หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ “ช้าง ที่มีลักษณะเหมือนแมมมอธมาก” นั่นเอง และที่การประชุมประจำปีของ American Association for the Advancement of Science ณ เมืองบอสตัน สัปดาห์นี้ พวกเขากล่าวว่า มันจะสามารถเป็นความจริงได้ ก่อนปี 2019 นี้

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0019

หลายปีที่ผ่านมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้มีการพูดถึง การชุบชีวิตแมมมอธ ที่สูญพันธุ์ไปจากโลกเป็นพันๆ ปีมาแล้ว แต่ในปี 2013 ที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบซากแมมมอธสภาพสมบูรณ์จนน่าตกใจ – ซึ่งรวมไปถึงเลือด จากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ด้วย – นั่นทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมาก เกี่ยวกับความคิดนี้ต่อไปนี้คือ กระบวนการที่พวกเขาตั้งใจจะทำให้แมมมอธกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2014 ก่อนที่ “CRISPR” จะถูกพัฒนาขึ้นมาเสียอีก

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0004

เมื่อกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้ยินข่าวลือมาว่า ยังมีซากแมมมอธเก่าแก่ที่ยังไม่ถูกขุดค้นพบ ฝังอยู่ใต้พื้นน้ำแข็ง บนเกาะทางตอนเหนือของไซบีเรีย พวกเขาก็ไม่รีรอที่จะออกสำรวจสถานที่นั้นทันที

แต่เมื่อพวกเขาไปถึง หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่แสดงให้เห็นว่า น่าจะมี อสูรกายยุคน้ำแข็ง ซ่อนตัวอยู่ใต้บริเวณนี้ ก็คือ ชิ้นส่วนของงา 2 ข้าง ที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือพื้นน้ำแข็ง เท่านั้น

3 วันต่อมา เมื่อน้ำแข็งรอบๆ บริเวณนั้น เริ่มละลาย เผยให้เห็นการค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจ แก่สายตาพวกเขา นั่นก็คือ ซากที่มีความสมบูรณ์ของแมมมอธ ทั้งกระดูก กล้ามเนื้อ ฟัน หรือแม้กระทั่งเลือดบางส่วน ที่จะนำไปสู่การบอกเล่าเรื่องราวของแมมมอธ อสูรกายขนาดมหึมา ที่เคยย่างกรายอยู่ในทุ่งน้ำแข็งแห่งนี้ ในยุคดึกดำบรรพ์ กว่า 28,000 ปีที่แล้ว ได้

เมื่อพวกเขาขุดเอาซากที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้พื้นน้ำแข็งขึ้นมาได้ เลือดสีแดงเข้มซึมไหลออกมาจากตัวมัน ขา3 ข้าง ซึ่งนับเป็นส่วนใหญ่ของตัว และแม้แต่บางส่วนของหัว และลำตัว อยู่ในสภาพสมบูรณ์ รอยขีดข่วนที่พบบริเวณกระดูก แสดงให้เห็นถึงการตายอย่างน่าสยดสยอง – คือมันติดอยู่ในหนองที่เต็มไปด้วยถ่านหินร่วน ก่อนจะถูกแทะกินทั้งเป็น โดยฝูงหมาป่า

แม้ว่ามันจะมีโชคชะตาที่เลวร้าย ซากที่สมบูรณ์ของเจ้าแมมมอธตัวนี้ อาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาของโลกยุคดึกดำบรรพ์ ได้เป็นอย่างดี – และเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตนี้ จะถูกโคลนนิ่งขึ้นมาใหม่

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0023

หลังจากใช้วิธีคำนวณอายุของซากสิ่งมีชีวิตจากคาร์บอน นักวิจัยเผยว่า เจ้าแมมมอธ ที่พวกเขาตั้งชื่อให้ว่า “Buttercup” นี้ มีอายุกว่า 40,000 ปี  บรรพบุรุษของบัตเตอร์คัพวิวัฒนาการขึ้นมาบนโลกใบนี้เมื่อประมาณ 5 ล้านปีที่แล้ว แต่ก็ต้องสูญพันธุ์ไปเมื่อ 4,500 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุณหภูมิบนโลกที่สูงขึ้น

การขุดค้นพบฟันขนาดมหึมาของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบได้ว่า บัตเตอร์คัพไม่ได้อยู่ในวัยเด็กสาวแล้ว โดยเธอมีอายุ 50 กว่าปี  ซึ่งสำหรับแมมมอธ เธออาจมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกอย่างมากที่สุดเพียง 15 ปีจากนั้น เท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างเลือด จากบัตเตอร์คัพ พบว่า เม็ดเลือดต่างๆ ได้ถูกทำลายไปตามกาลเวลา – แต่ยังคงเหลือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เม็ดเลือดแดงของบัตเตอร์คัพ ใช้ในการลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ซึ่งแมมมอธมีฮีโมโกลบินชนิดพิเศษ ที่จะทำให้เลือดยังสามารถไหลเวียนในร่างกายได้ แม้ในอุณหภูมิอากาศที่เย็นเยือกแข็ง

นักชีววิทยา ที่ศึกษาพืชและสัตว์ในยุคโบราณ จากซากหินที่เหลืออยู่ จากสถาบัน Natural History Museum of London ชื่อ Tori Herridge มีส่วนช่วยในการศึกษาแมมมอธบัตเตอร์คัพด้วยเช่นกัน ซึ่งเธอกล่าวว่า เจ้าแมมมอธตัวนี้มีความสูงกว่า 7 ฟุต และมีน้ำหนักกว่า 10,000 ปอนด์ หรือมากพอๆ กับช้างเอเชียนั่นเอง

แมมมอธ มีลิ้นขนาดใหญ่ ใช้ในการเคี้ยวอาหารจำพวกหญ้า ดอกไม้ป่าโปรตีนสูงชื่อ “forb”  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การที่พืชชนิดนี้สูญพันธุ์ เมื่อ 10,000-15,000 ปีที่แล้ว มีส่วนในการสูญพันธุ์ของแมมมอธด้วยเช่นกัน

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0010

บัตเตอร์คัพก็ใช้ฟันของเธอเคี้ยวอาหารเช่นกัน ลายเส้นสีอ่อนๆ บนฟันด้านนอกของเธอ ช่วยบอกให้รู้ว่า เธอไม่ได้มีสุขภาพดีนัก ตอนที่เธอตาย

นักวิจัยบางกลุ่ม รวมถึง Insung Hwang นักชีววิทยาจาก SOOAM Biotech Research Center หวังว่าพวกเขาจะเจอ DNA ที่มากพอ ที่จะโคลนนิ่งบัตเตอร์คัพขึ้นมาได้

นักวิจัยคนอื่นๆ รวมถึง Herridge เอง แสดงความกังวลเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว ว่า “ใครล่ะ? ที่จะเป็นคนรับผิดชอบและเป็นเจ้าของแมมอธที่ถูกโคลนขึ้น? จะเป็นกลุ่มนักวิจัยเอง? หรือทั่วโลก? เราจะมีการเจรจากันก่อน หากพวกเขาจะเริ่มโครงการนี้ หรือไม่?” เธอได้แสดงความเห็นไว้ในวิดีโอ เมื่อปี 2014

จนถึงปัจจุบัน Hwang ได้โคลนนิ่งสุนัขขึ้นมาหลายตัวแล้ว ในแล็ปของเขาในเกาหลีใต้ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกัน ที่จ่ายเงินสูงถึง 100,000$ ในการ “ก็อปปี้” สัตว์เลี้ยงแสนรักที่เพิ่งจากไป ของพวกเขา

Hwang กล่าวว่า ในปี 2014 พวกเขาตั้งความหวังที่จะใช้เทคนิคนี้ในการสร้างแมมมอธให้มีชีวิต เขาจะสกัดเอาเซลล์ออกมาจากผิวหนังและกล้ามเนื้อ ของบัตเตอร์คัพ ซึ่ง DNA ของเซลล์จะถูกใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่ปราศจาก DNA จากนั้นจะใช้การช็อคด้วยไฟฟ้า เพื่อให้เซลล์เพิ่มจำนวน โดยกลุ่มเซลล์ใหม่ที่ได้นี้ จะถูกฝังในตัวแม่ที่ถูกคัดเลือกไว้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็น ช้าง เพื่อให้ได้เป็น ลูกแมมมอธตัวน้อยเกิดขึ้น

แมมมอธ_๑๗๐๓๐๒_0012

 

หากพวกเขาเก็บ DNA ได้ไม่มากพอจากซากของบัตเตอร์คัพ นักพันธุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ท George Church กล่าวว่า เขาอาจจำเป็นต้องตัดแต่งยีนของเธอ โดยรวมเข้ากับยีนของช้างในปัจจุบัน เพื่อชุบชีวิตสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ชนิดนี้  แนวคิดการชุบชีวิตที่เป็นที่โต้เถียงกันอยู่นี้ ถูกนำขึ้นมาพิจารณา ในการประชุมครั้งล่าสุด ในอดีตมันได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์แตกออกเป็น 2 ขั้ว ด้วยความเชื่อที่ว่า เราสามารถนำระบบนิเวศที่ถูกทำลายลงไปกลับมาใหม่ได้ แต่อีกกลุ่มกลับคิดว่า นั่นจะเท่ากับเป็นการทำลายเผ่าพันธุ์ของเราเอง

เรายังไม่อาจรู้ได้ว่า ความฝันของ Church จะกลายเป็นความจริงได้หรือไม่ แต่จากแนวคิดของ Hwang ทำให้เกิดความหวัง ว่าวันหนึ่งจะได้เห็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้ อีกครั้ง