
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งในเพศหญิงที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม (สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553) และมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 14 ราย/วัน มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก จากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าเอช พี วี (Human Papilloma Virus; HPV) ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์แต่สิ่งที่ทำให้โรคนี้น่ากลัวที่สุด ก็คือคุณจะไม่รู้ตัวเลยว่าคุณได้รับเชื้อ HPV เข้าไปในบริเวณปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว เพราะในบางรายเชื้อ HPV จะใช้เวลาถึง 10 ปีในการก่อตัวเป็นมะเร็ง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
- สตรีที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่การติดเชื้อส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 จะหายไปได้เอง ภายใน 1-2 ปีโดยไม่ก่ออาการหรือโรค
- การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แต่ไม่ทั้งหมด
- การมีคู่นอนเพียงคนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อได้
ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะมีคู่นอนเพียงคนเดียว
อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
อาการโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก จะไม่มีอาการผิดปกติ จึงยากที่จะสังเกตได้ แต่เชื้อไวรัสนี้ก็สามารถที่จะตรวจพบได้แต่เนิ่นๆ ถ้าตรวจภายในทุกๆปี หรือถ้ามีอะไรผิดปกติก็สามารถไปตรวจได้ไม่ต้องรอ
- ตกขาวมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง และมีเลือดปนด้วย
- มีเลือดออกผิดปกติหลังมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมาผิดปกติจากที่เคยเป็น (มานานผิดปกติ หรือเป็นกะปริบกะปรอย)
- มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
- ปวดท้องน้อย
- มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
- ปัสสาวะ/อุจจาระเป็นเลือด
- ขาบวม ปวดหลัง (มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุยังน้อย, มีบุตรมาก, มีประวัติเป็นกามโรค เป็นต้น แต่จากสถิติและการศึกษาค้นคว้าพบว่า มะเร็งปากมดลูกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (Human papilloma virus – HPV ) บริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก (รวมทั้งอวัยวะเพศภายนอก) อย่างไรก็ตาม แม้การติดเชื้อไวรัส HPV ที่ปากมดลูกเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ติดเชื้อไวรัสนี้แล้วจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
กลุ่มเสี่ยงของผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
- บุคคลที่มีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น
- บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- บุคคลที่สูบบุหรี่
- บุคคลมีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น
- บุคคลการให้กำเนิดลูกหลายคน
- บุคคลที่มีการกินยาคุมกำเนิด
- มะเร็งปากมดลูกสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ โดยวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในขณะอายุยังน้อย
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- พยายามป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการติดเชื้อ HPV
- งดสูบบุหรี่
- ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
- ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะหญิงที่ผ่านการมี
มะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ว่าจะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ ถึงจะป้องกันได้ไม่ 100% ก็ตาม แต่ก็ช่วยให้ความเสี่ยงลดลงได้ โดยการป้องกันด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ก็คือการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น พฤติกรรมทางเพศ ได้แก่ เลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และใช้เครื่องป้องกันอย่างถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ อีกทั้งยังไม่ควรสูบบุหรี่ และไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนี้อีกวิธีที่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ก็คือ การฉีดวัดซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันได้เกือบ 100% นอกจากนี้ยังควรที่จะตรวจหาเชื้อไวรัส HPV และมะเร็งปากมดลูกอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง