กลับสู่ด้านบน

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี พบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์ แต่มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40-60 ปี โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง

โรคมะเร็งรังไข่มีหลายชนิด แต่แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
  1. กลุ่มเกิดจากเซลล์ตัวอ่อน ที่เรียกว่า เจิมเซลล์ (Germ cell) มะเร็งกลุ่มนี้พบได้น้อย และมักพบในเด็กและในหญิงอายุน้อย เรียกมะเร็งกลุ่มนี้ว่า เนื้องอกเจิมเซลล์หรือมะเร็งเจิมเซลล์ (Germ cell tumor) ซึ่งพบมะเร็งรังไข่กลุ่มนี้ได้ประมาณ 5% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด ตัวอย่างชนิดมะเร็งในกลุ่มนี้เช่น Dysgerminoma, Embryonal cell carcinoma, Teratocarci noma
  2. กลุ่มเกิดจากเซลล์เยื่อบุผิว (Epithelium)อาจเป็นเยื่อบุผิวของท่อนำไข่ หรือของเยื่อบุมดลูก หรือของเยื่อบุผิวของรังไข ซึ่งเป็นมะเร็งกลุ่มพบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 90%) และเป็นชนิดเกิดในผู้ใหญ่ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งทั่วไปเมื่อพูดถึงโรคมะเร็งรังไข่มักหมายถึงโรคมะเร็งรังไข่ชนิดเกิดจากเยื่อบุผิวนี้เช่น ชนิด Papillary serous cystadeno carcinoma (พบได้บ่อยที่สุด) ที่พบได้รองๆลงไปเช่น Borderline adenocarcinoma, Adeno carcinoma, Mucinous cystadenacarcinoma เป็นต้น

นอกจากนี้ มะเร็งรังไข่ในกลุ่มเยื่อบุผิวนี้ยังแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบ/Type คือ มะเร็งรังไข่แบบ 1 (Ovarian cancer type 1) และมะเร็งรังไข่แบบ 2 (Ovarian cancer type 2) มะเร็งรังไข่แบบที่ 1 คือ มะเร็งรังไข่ที่มีความรุนแรงโรคต่ำ (Low grade tumor) ธรรมชาติของโรคไม่ค่อยลุกลามแพร่กระจาย จึงมักพบโรคนี้ในระยะที่ 1 และเป็นมะเร็งกลุ่มมีการพยากรณ์โรคที่ดี นอกจากนั้น โรคในกลุ่มนี้ยังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น KRAS, PTEN , BRAF แต่มักไม่พบความผิดปกติของจีน TP53 (Tumor protein 53) มะเร็งกลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือ มะเร็งในกลุ่ม Borderline adenocarcinoma มะเร็งรังไข่แบบที่ 2 เป็นมะเร็งกลุ่มมีธรรมชาติของโรครุนแรง (High grade tumor) มักพบโรคในระยะลุกลามออกนอกรังไข่ไปแล้ว เป็นโรคที่มักพบร่วมกับมียีนผิดปกติชนิด TP53, และ BRCA (Breast cancer) และเป็นโรคกลุ่มมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

  1. ชนิดอื่น ๆนอกเหนือจากกลุ่ม ก และ ข ดังกล่าว: พบรวมกันแล้วได้ประมาณ 5% เช่น Sex cord stromal tumor, Mullerian tumor
อาการของโรคมะเร็งรังไข่
  1. มะเร็งรังไข่ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดง แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
  2. รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
  3. อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดท้อง
  4. รู้สึกอิ่มจนอึดอัดถึงแม้รับประทานอาหารอ่อนๆ
  5. คลื่นไส้
  6. ท้องเสีย ท้องผูก
  7. ปัสสาวะบ่อย
  8. เบื่ออาหาร
  9. น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  10. มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ที่พบมากที่สุดเกิน 90% ของมะเร็งรังไข่ คือ มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ มักพบในสตรีวัยหมดประจำเดือน หรืออายุ 55 ปีขึ้นไป จากผลการตรวจพบว่า ไม่มีสาเหตุบ่งชี้แน่ชัดของโรค แต่สันนิษฐานได้ว่ามักเกิดจาก

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรมสำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น
  2. การที่รังไข่ทำงานโดยไม่ได้พักผ่อน ทำให้เนื้อเยื่อรังไข่เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง โดยเชื่อว่า การหยุดพักรังไข่จากการตั้งครรภ์ การให้นมบุตร และการรับประทานยาคุมกำเนิด ทำให้รังไข่มีโอกาสพักการตกไข่ ผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานหรือมีลูกนั้น จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าผู้หญิงที่แต่งงานหรือมีลูก
  3. มีการใช้สารทาลค์ (Talc) ที่อยู่ในแป้งกันการเปียกชื้น ทาบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศ
  4. สูดดมสารแอสเบสทอล (Asbestos) หรือแร่ใยหิน ซึ่งใช้ในการทำฉนวนความร้อนเข้าสู่ร่างกาย
  5. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  6. เป็นมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้เล็ก
  7. ผู้หญิงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
กลุ่มเสี่ยงของผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่
  1. คนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งรังไข่
  2. อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  3. มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  4. ยังไม่เคยตั้งครรภ์/คลอดบุตร
  5. คลอดบุตรคนแรกหลังจากอายุ 30 ปีแล้ว
  6. หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
  7. มีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
การป้องกันเกี่ยวกับโรคมะเร็งรังไข่

ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางเฉพาะสำหรับการป้องกันมะเร็งรังไข่ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ อีกทั้งมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งตรวจสุขภาพและตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจเช็กว่ามีก้อนในช่องท้องหรือไม่

มะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งตรวจสุขภาพและตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้ง สำหรับแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ที่สูตินรีแพทย์ประเมินแล้วว่า“มีความเสี่ยงสูง” ที่จะเกิดมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งทางพันธุกรรมในสตรี อาจสามารถมารับคำปรึกษาเพื่อรับการตรวจทางพันธุกรรม (Genetic Testing) ซึ่งเป็นการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนเพื่อวางแผนการดูแลรักษาในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่โดยปกติจะแนะนำให้เริ่มตรวจจากคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งแล้วก่อน