กลับสู่ด้านบน

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นทุกปี ซึ่งกว่าร้อยละ70 ของโรคมะเร็ง เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป มีมลภาวะเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร รวมถึงความเครียดภายในจิตใจ จากอุบัติการณ์ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ 3 ชั่วโมง จะพบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม 2 คน และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 30 ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทั้งนี้อัตราการพบมะเร็งเต้านมในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ในประเทศตะวันตกพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่า 100 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1 แสนคน ส่วนในเอเชียพบน้อยกว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาของไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระบาดวิทยาระดับโลก พบว่าหญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งเพียง 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1แสนคน ซึ่งถ้าเทียบเป็นร้อยละก็เพียง 0.04  ซึ่งนับว่าน้อยมาก

การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งเต้านมนั้น  มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพบผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับมะเร็ง เช่น CA153, CEA ผิดปกติน้อยกว่าร้อยละ 20 ขณะเดียวกันผู้ที่มีผลเลือดปกติ ก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว ส่วนการตรวจยีน เช่น gene BRCA1, BRCA2 ซึ่งจะมีความผิดปกติในมะเร็งเต้านมที่เป็นกันทั้งครอบครัว หากตรวจพบก็ไม่ได้หมายความว่า กำลังเป็นมะเร็งอยู่ เพียงแต่ทำให้รู้ว่าโอกาสจะพบมะเร็งเต้านมในคน ๆ นั้นมีมากกว่าคนทั่วไป และยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 – 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้นหากตรวจยีนดังกล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมอยู่ไม่น้อย

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านม
  1. อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  2. มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
  3. มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
  4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
  5. การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
  6. การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
  7. ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
อาการ-ของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม

บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
  2. บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
  3. เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
  4. มีอาการปวดบริเวณเต้านม
กลุ่มเสี่ยงของผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านม
  1. ผู้หญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงมากขึ้นเป็นอีกเท่าตัว
  2. เคยมีก้อนเนื้อที่เต้านม ผู้ที่เคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาแล้วข้างหนึ่ง มีความเสี่ยง 3 – 4 เท่าที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในอีกข้าง
  3. พันธุกรรม – หากคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าคนทั่วไป
  4. ประจำเดือน – ผู้ที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย และหมดประจำเดือนช้า ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากโรคนี้สามารถพบได้สูงขึ้นในผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  5. การใช้ชีวิต – พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเป็นอีกส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุยังน้อย ใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ทานอาหารที่มีไขมันสูง และไม่ออกกำลังกาย
การป้องกันเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

เนื่องจากสาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  1. หมั่นตรวจเต้านมของตนเองเป็นประจำทุกเดือน และควรทำตั้งแต่อายุตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป
  2. เข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราว เริ่มเมื่ออายุ 40 ปี โดยตรวจทุก 1 ปี
  3. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประมาณปีละ 1 ครั้ง
  4. ปรับพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดีต่อวัน แอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการพัฒนาของโรค ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอผู้ที่มีบุตร ควรให้นมบุตรด้วยตนเอง เนื่องจากระยะเวลาการให้บุตรที่นานขึ้นจะช่วยลดโอกาสการได้รับฮอร์โมนเช่นกัน ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเสริม เช่น ผู้ที่มีปัญหาประจำเดือนหมดหรือการผ่าตัดตัดไข่ออกก่อนเวลาอันควร ควรระวังในเรื่องการได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานานหรือปริมาณฮอร์โมนที่สูงติดต่อกัน ควรปรึกษาแพทย์เป็นระยะ เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมจากการใช้ฮอร์โมน

มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบหมอด้วยอาการปวดเต้านม) แต่จะคลำพบก้อนที่เต้านม นอกจากอาการผิดปกติที่เต้านมแล้ว การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม(mammogram) และ อัลตราซาวด์ (ultrasound) ยังสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กตั้งแต่ยังไม่มีอาการได้ โดยอาจพบก้อน หรือจุดหินปูนในเนื้อเต้านมได้ ในปัจจุบันโอกาสที่จะทำการรักษามะเร็งเต้านมให้หายขาด หากว่าพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นที่โอกาสรักษาให้หายสูง ยิ่งเรามาพบแพทย์ในระยะต้นๆ ที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านม โอกาสที่จะหายขาดก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น[:en]มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก้พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งระยะแรกและระยะหลังจาการตรวจ การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  2. มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม คนที่เคยตรวจพบมะเร็งเต้านมในข้างใดข้างหนึ่งมีโอกาสเสี่ยง 3 ใน 4 เท่า ที่จะตรวจพบมะเร็งในอีกข้างหนึ่ง
  3. มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมนจึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
  4. คนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม

5.การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน

6 พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง

อาการมะเร็งเต้านม

มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลืองหรือมีแผล เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม มีอาการปวดบริเวณเต้านม